หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2438 (ณ วังพระอาทิตย์ บางลำพู
จังหวัดพระนคร)
ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉะนั้น
สมเด็จพระศรีพัชรินทรา
บรมราชินีนาถ
จึงพระราชทานนามนี้
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม
ทรงเป็นโอรสองค์ที่ 9
ในพระบรมวงศ์เธอ
กรมพระนเรศวรฤทธิ์
และหม่อมแช่ม กฤดากร ณ
อยุธยา
และมีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระบิดาหลายพระองค์ ได้แก่
พระองค์เจ้าบวรเดช กฤดากร พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร
หม่อมเจ้าขจรจรัสฤทธิ์ กฤดากร หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร
หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
หม่อมเจ้าผจงระจิตร กฤดากร เป็นต้น
โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์
ผู้เป็นพระบิดามีบทบาทมากต่อบ้านเมืองในช่วงรัชกาลที่ 5 และ 6 ดังที่ได้กล่าวไว้ในประวัติของ
ม.จ. อิทธิเทพสรรค์ในหัวข้อก่อนหน้านี้
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม ได้เษกสมรสกับหมอ่มเจ้ารัสสาทิส กฤดากร
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม
พ.ศ. 2478 เมื่อชันษาเกือบ
40 ปี และอีก 8ปี ต่อมาจึงมีบุตรด้วยกันอยู่คนเดียว คือหม่อมราชวงศ์สาทิส กฤดากร
ซึ่งได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง 23 ปี โดยอุบัติเหตุ
หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้หม่อมเจ้าสมัยเฉลิมเศ้ราโศกเสียใจมาก
จนเป็นพระโรคประสาทร้ายแรงและมีโรคแทรกซ้อมและสิ้นชีพตักษัทในอีก 8
เดือนต่อมา คือเมื่อวันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เวลา 00.15
น. รวมพระชนมายุได้
71 พรรษา 9 เดือน
เมื่อทรงพระเยาว์หม่อมเจ้าสมัยเฉลิมได้ศึกษาหนังสือไทยที่วังพระอาทิตย์และที่โรงเรียนในวัดพระเชตุพน การศึกษาต่อจากนั้นคือ
พ.ศ. 2448 โรงเรียนราชวิทยาลัย 3 ปี
พ.ศ. 2451 โรงเรียนในประเทศฝรั่งเศษ 2 ปี
พ.ศ. 2453 Institution Brunel Haccius Geneve 3 ปี
พ.ศ. 2456 College Scientifioue, Lausanne, Suisse 5 ปี
พ.ศ. 2456 Ecole Nationale Superieure des Beaux Arts,Paris 9 ปี
พ.ศ. 2451 โรงเรียนในประเทศฝรั่งเศษ 2 ปี
พ.ศ. 2453 Institution Brunel Haccius Geneve 3 ปี
พ.ศ. 2456 College Scientifioue, Lausanne, Suisse 5 ปี
พ.ศ. 2456 Ecole Nationale Superieure des Beaux Arts,Paris 9 ปี
สรุปได้ว่าท่านทรงใช้ชีวิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศษ
ถึง 19 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2470
(ค.ศ. 1908 - 1927) โดยเป็นนักเรียนทุนในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากสำเร็จวิชาสถาปัตยกรรมจาก สถาบัน
Nationale Superieure des
Beaux Arts กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศสแล้ว
ก็ทรงกลับมารับราชการเมื่อปี พ.ศ.
2471 ในแผนกศิลปากรสถาน
พ.ศ. 2471 เข้ารับราชการในแผนกศิลปากรสถาน ตำแหน่งนายช่าง
พ.ศ. 2472 ย้ายมารับราชการกรมวังนอก กระทรวงวัง ตำแหน่งนายช่างใหญ่
พ.ศ. 2478 กองสถาปัตยกรรม กระทรวงธรรมการ ตำแหน่งสถาปนิก
พ.ศ. 2483 กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งหัวหน้าแผนกออกแบบ
พ.ศ. 2493 ตำแหน่งสถาปนิกชั้นพิเศษ กรมศิลปากร
พ.ศ. 2501 ออกจากราชการเพื่อรับบำนาญด้วยเหตุสูงอายุ
พ.ศ. 2472 ย้ายมารับราชการกรมวังนอก กระทรวงวัง ตำแหน่งนายช่างใหญ่
พ.ศ. 2478 กองสถาปัตยกรรม กระทรวงธรรมการ ตำแหน่งสถาปนิก
พ.ศ. 2483 กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งหัวหน้าแผนกออกแบบ
พ.ศ. 2493 ตำแหน่งสถาปนิกชั้นพิเศษ กรมศิลปากร
พ.ศ. 2501 ออกจากราชการเพื่อรับบำนาญด้วยเหตุสูงอายุ
ดังนั้นช่วงเวลาปฏิบัติวิชาชีพของหม่อมเจ้าสมัยเฉลิมคือ พ.ศ.
2471 - 2501
นอกจากการรับราชการตำแหน่งสถาปนิกดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดี คณะประติมากรรม มหาวิทยาศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ. 2487 - 2493
และได้ไปสอนวิชาสถาปัตยกรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในตำแหน่งอาจารย์พิเศษ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม ในปี พ.ศ.
2476 โดยดำรงตำแหน่งกรรมการสมาคมฯ ร่วมกับผู้ริเริ่มอีก 6 ท่าน ใน
พ.ศ. 2477 ได้แก่พระสาโรชรัตนนิมมานก์ นายกสมาคม
หลวงบุรกรรมโกวิท เลขาธิการ นายนารถ
โพธิสาท เหรัญญิก หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
กรรมการ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ
กรรมการ และนายศิววงษ์ กุญชร ณ อยุธยา
เมื่อออกจากราชการแล้วได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดี
คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2501-31 สิงหาคม พ.ศ.
2505 ต่อจากนั้นได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักพระราชวังมาตลอดพระชนม์ชีพ
ผลงานของท่านมีมากมาย
นอกจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ แล้วยังมีโรงละครแห่งชาติ, ศาลาเฉลิมกรุง,พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์,
พระบรมราชอนุสาวรีย์ ร.๖ สวนลุมพินี
ในที่นี้จะยกตัวอย่างอาคารสาธารณะซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของ หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ดังนี้
ศาลาเฉลิมกรุง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 9 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงมหรสพที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดของเอเซียในยุคสมัยนั้น และพระราชทานนาม ''ศาลาเฉลิมกรุง'' เพื่อเป็นเกียรติแก่ ม.จ. สมัยเฉลิม กฤดากร ผู้ออกแบบและเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร 150 ปี โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง ได้ยืนหยัดผ่านวันเวลาหลายยุคหลลายสมัย รองรับผู้คนด้วยความบันเทิงหลายรูปแบบด้วยการแสดงที่หลากหลายและมีคุณภาพ ยึดมั่นในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอย่างสง่างาม และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและความทรงจำที่มีคุณค่าของปวงชนชาวไทย เป็นสถานพักผ่อนหย่อนใจที่สร้างความสุขความบันเทิงให้แก่ผู้คนมาทุกยุคทุกสมัย
ศาลาเฉลิมกรุง ตั้งอยู่ทางฝั่งพระนคร ถนนตรีเพชร
สังเกตได้ง่ายเพราะตั้งอยู่ ณ บริเวณสี่แยก บริเวณโดยรอบประกอบด้วยสถานที่สำคัญๆหลายแห่ง
เช่น ย่านตลาดพาหุรัด ศูนย์การค้าดิโอล์ดสยาม โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เสาชิงช้า สวนรมณีนาถ วัดสุทัศน์
สวนสราญรมย์
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ศาลาว่าการกรุงเทพฯ เป็นต้น ด้วยความที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองจึงมีผู้คนพลุกพล่านผ่านไปผ่านมา
ซึ่งก็จะเห็นได้จากการจราจรบริเวณนี้ที่ค่อนข้างติดขัดเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันศาลาเฉลิมกรุงได้ใช้เป็นสถานที่ในการจัดแสดงโขน อันเป็นสุดยอดแห่งศิลปะการแสดงชั้นสูง โดยมูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้จัดทำโครงการ “โขน ศาลาเฉลิมกรุง” ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าว และเพื่อร่วมทำนุบำรุงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย ศาลาเฉลิมกรุงจึงเป็นโรงมหรสพหลวงที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานกว่ากึ่งศตวรรษ เป็นเสมือนสถาบันสัญลักษณ์แห่งการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
ศาลาเฉลิมกรุงเปิดทำการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ มีเวลาทำการตั้งแต่ 10.00 น.-18.00 น. โดยมีวันที่เปิดให้ชมการแสดงโขน ทุกวันพฤหัสและศุกร์ รอบ 19.30 น. ซึ่งบัตรมีราคา 1,200, 1,000, และ 800 บาท สำหรับนักท่องเที่ยว แต่สำหรับนักศึกษาจะจำหน่ายบัตรในราคาเพียง 200 บาท
ในวันที่ไม่มีการแสดงก็จะเปิดไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาซื้อบัตรชมการแสดงโขน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มหรือกลุ่มทัวร์มาลง บรรยากาศภายในเมื่อเข้าไปถึงก็จะพบกับโถงทางเข้า
มีส่วนสำหรับนั่งพักคอยเป็นโซฟาที่นั่งสีแดงอยู่ตรงกลางโถง ซึ่งสามารถมองเห็นบันไดทางเดินขึ้นไปยังชั้น2 ของโรงละครได้
ในชั้นล่างโดยรอบก็จะมีที่สำหรับขายบัตรการแสดง และมีร้าน S&P อยู่เพียงร้านเดียว
บริเวณโถงนั้นจะมีรูปภาพประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ของศาลาเฉลิมกรุง
อีกทั้งผู้ก่อตั้งคือ ม.จ. เฉลิมชัย กฤากร
ที่กำลังทรงตรวจทานขั้นตอนการก่อสร้างของศาลาอยู่เรียนรายให้ได้ศึกษาและรับชมได้ตลอดเวลา
เมื่อเดินขึ้นไปยังชั้น2 ของโรงมหรสพ ทางด้านซ้ายมือจะพบกับส่วนของห้องที่ใช้สำหรับรับรองพระมหากษัตริย์
เมื่อทรงมาเยี่ยมและรับชมการแสดง
เรียกกันว่า ห้องเมฆลา ข้างๆติดกันจะเป็นส่วนของห้องเรียนลีลาส
ไว้สำหรับสอนลีลาสให้กับบุคคลทุกวัยทุกแบบที่สนใจ บ้างก็เป็นดาราที่มาเรียน โดยอาจารย์สอนบุญเลิศ เรียกว่า ห้องบุญเลิศลีลาส และทางด้านขวาจึงค่อยเป็นทางเข้าชั้น 2ของที่นั่งในชั้นบนนี้
ในวันที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปศึกษาและเยี่ยมชมนั้นคือในวันที่ไม่มีการแสดงโขน ภายในจะมี รปภ. คอยดูแลสถานที่ตลอดเวลาซึ่งต้องขอขอบคุณพี่
รปภ.ที่อนุญาตให้สามารถเดินสำรวจบรรยากาศและศึกษาสถาปัตยกรรมภายในศาลาเฉลิมกรุงนี้และขอบคุณสถานที่ ศาลาเฉลิมกรุง ที่ให้ข้าพระเจ้าได้ศึกษาเรียรู้
ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ตรงข้ามวัดสุทัศน์เทพวราราม ด้านหน้าจะอยู่ติดกับเสาชิงช้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในปี
พ.ศ. 2498 ออกแบบโดยหม่อมเจ้า
สมัยเฉลิม กฤดากร ในอดีตนั้นเรียกว่าศาลาเทศบาลนครกรุงเทพ
เดิมทีสถาปนิกได้ออกแบบให้อาคารหลังนี้มีหอคอยสูง
แต่เมื่อทำการก่อสร้างจริงนั้นได้ตัดยอดที่ว่านี้ออกไป จึงเกิดเป็นอาคารหลังในปัจจุบัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นตึกขนาดใหญ่
โดยภาพรวมเป็นอาคารสมัยใหม่ของตะวันตกที่เน้นความเรียบง่าย แต่ในส่วนรายละเอียดเล็กๆน้อยๆกลับมีการสอดแทรกประติมากรรมแบบไทยลงไปในชิ้นงานด้วยและเน้นการซ้ำกันในผังรูปด้านของอาคาร
อาคารหลังนี้ถูกออกแบบให้ผังมีลักษณะเป็นแบบคลาสสิค เน้นแกนสมมาตร
แต่รูปร่างลักษณะอาคารเป็นแบบไทยประยุกต์
โดยใช้งานประดับตกแต่งที่เป็นประติมากรรมแบบไทยประยุกต์เป็นตัวดำเนินเรื่องราว
แหล่งข้อมูลอ้างอิง