วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม  กฤดากร


หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม  กฤดากร ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน  พ..  2438  (ณ วังพระอาทิตย์  บางลำพู  จังหวัดพระนคร)  ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ฉะนั้น  สมเด็จพระศรีพัชรินทรา  บรมราชินีนาถ  จึงพระราชทานนามนี้  หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม   ทรงเป็นโอรสองค์ที่ 9  ในพระบรมวงศ์เธอ  กรมพระนเรศวรฤทธิ์  และหม่อมแช่ม  กฤดากร  ณ  อยุธยา   และมีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระบิดาหลายพระองค์  ได้แก่  พระองค์เจ้าบวรเดช  กฤดากร  พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์  กฤดากร  หม่อมเจ้าขจรจรัสฤทธิ์  กฤดากร  หม่อมเจ้าอมรทัต  กฤดากร  หม่อมเจ้าสิทธิพร  กฤดากร  หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์  กฤดากร  หม่อมเจ้าผจงระจิตร  กฤดากร  เป็นต้น  โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ผู้เป็นพระบิดามีบทบาทมากต่อบ้านเมืองในช่วงรัชกาลที่ 5 และ 6 ดังที่ได้กล่าวไว้ในประวัติของ ม.. อิทธิเทพสรรค์ในหัวข้อก่อนหน้านี้
                หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม  ได้เษกสมรสกับหมอ่มเจ้ารัสสาทิส  กฤดากร  เมื่อวันที่  12  สิงหาคม  พ..  2478  เมื่อชันษาเกือบ  40 ปี  และอีก 8ปี  ต่อมาจึงมีบุตรด้วยกันอยู่คนเดียว  คือหม่อมราชวงศ์สาทิส  กฤดากร  ซึ่งได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง 23 ปี  โดยอุบัติเหตุ  หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้หม่อมเจ้าสมัยเฉลิมเศ้ราโศกเสียใจมาก  จนเป็นพระโรคประสาทร้ายแรงและมีโรคแทรกซ้อมและสิ้นชีพตักษัทในอีก 8 เดือนต่อมา  คือเมื่อวันอังคารที่  20  มิถุนายน  พ..  2510  เวลา  00.15 รวมพระชนมายุได้  71  พรรษา 9  เดือน
                เมื่อทรงพระเยาว์หม่อมเจ้าสมัยเฉลิมได้ศึกษาหนังสือไทยที่วังพระอาทิตย์และที่โรงเรียนในวัดพระเชตุพน  การศึกษาต่อจากนั้นคือ
                พ.. 2448             โรงเรียนราชวิทยาลัย                                                                      3 ปี
                พ
.. 2451             โรงเรียนในประเทศฝรั่งเศษ                                                    2 ปี
                พ
.. 2453             Institution  Brunel  Haccius  Geneve                                        3 ปี
                พ
.. 2456             College  Scientifioue, Lausanne, Suisse                          5 ปี
                พ
.. 2456             Ecole  Nationale  Superieure  des  Beaux  Arts,Paris       9 ปี
                สรุปได้ว่าท่านทรงใช้ชีวิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศษ ถึง 19 ปี คือตั้งแต่  พ..  2547 -  .. 2470
(.. 1908 - 1927) โดยเป็นนักเรียนทุนในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  หลังจากสำเร็จวิชาสถาปัตยกรรมจาก  สถาบัน  Nationale  Superieure  des  Beaux  Arts  กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศสแล้ว  ก็ทรงกลับมารับราชการเมื่อปี  พ.. 2471 ในแผนกศิลปากรสถาน
                พ..  2471            เข้ารับราชการในแผนกศิลปากรสถาน  ตำแหน่งนายช่าง
                พ
..  2472            ย้ายมารับราชการกรมวังนอก  กระทรวงวัง  ตำแหน่งนายช่างใหญ่
                พ
..  2478            กองสถาปัตยกรรม  กระทรวงธรรมการ  ตำแหน่งสถาปนิก
                พ
..  2483            กองสถาปัตยกรรม  กรมศิลปากร   กระทรวงศึกษาธิการ  ตำแหน่งหัวหน้าแผนกออกแบบ
                พ
..  2493            ตำแหน่งสถาปนิกชั้นพิเศษ  กรมศิลปากร
                พ
..  2501            ออกจากราชการเพื่อรับบำนาญด้วยเหตุสูงอายุ
                ดังนั้นช่วงเวลาปฏิบัติวิชาชีพของหม่อมเจ้าสมัยเฉลิมคือ   พ..  2471 - 2501
                นอกจากการรับราชการตำแหน่งสถาปนิกดังที่กล่าวมาแล้วนั้น  ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดี  คณะประติมากรรม  มหาวิทยาศิลปากร  ระหว่างปี พ..  2487 - 2493  และได้ไปสอนวิชาสถาปัตยกรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ในตำแหน่งอาจารย์พิเศษ  และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม  ในปี พ..  2476 โดยดำรงตำแหน่งกรรมการสมาคมฯ ร่วมกับผู้ริเริ่มอีก  6 ท่าน ใน  พ..  2477  ได้แก่พระสาโรชรัตนนิมมานก์  นายกสมาคม  หลวงบุรกรรมโกวิท  เลขาธิการ  นายนารถ  โพธิสาท  เหรัญญิก  หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์  กฤดากร  กรรมการ  หม่อมเจ้าโวฒยากร  วรวรรณ  กรรมการ  และนายศิววงษ์  กุญชร ณ อยุธยา

                เมื่อออกจากราชการแล้วได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร  ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2501-31  สิงหาคม พ.. 2505  ต่อจากนั้นได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักพระราชวังมาตลอดพระชนม์ชีพ

                ผลงานของท่านมีมากมาย นอกจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ แล้วยังมีโรงละครแห่งชาติ, ศาลาเฉลิมกรุง,พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์, พระบรมราชอนุสาวรีย์ ร.๖ สวนลุมพินี
ในที่นี้จะยกตัวอย่างอาคารสาธารณะซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของ  หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม  กฤดากร  ดังนี้

ศาลาเฉลิมกรุง



                 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์  จำนวน 9 ล้านบาท  เพื่อสร้างโรงมหรสพที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดของเอเซียในยุคสมัยนั้น  และพระราชทานนาม  ''ศาลาเฉลิมกรุง''  เพื่อเป็นเกียรติแก่  ม.จ. สมัยเฉลิม  กฤดากร  ผู้ออกแบบและเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร  150 ปี  โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง  ได้ยืนหยัดผ่านวันเวลาหลายยุคหลลายสมัย  รองรับผู้คนด้วยความบันเทิงหลายรูปแบบด้วยการแสดงที่หลากหลายและมีคุณภาพ  ยึดมั่นในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอย่างสง่างาม  และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและความทรงจำที่มีคุณค่าของปวงชนชาวไทย  เป็นสถานพักผ่อนหย่อนใจที่สร้างความสุขความบันเทิงให้แก่ผู้คนมาทุกยุคทุกสมัย
 

ศาลาเฉลิมกรุง ตั้งอยู่ทางฝั่งพระนคร  ถนนตรีเพชร  สังเกตได้ง่ายเพราะตั้งอยู่ ณ บริเวณสี่แยก  บริเวณโดยรอบประกอบด้วยสถานที่สำคัญๆหลายแห่ง เช่น  ย่านตลาดพาหุรัด  ศูนย์การค้าดิโอล์ดสยาม  โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  เสาชิงช้า  สวนรมณีนาถ  วัดสุทัศน์  สวนสราญรมย์  อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  ศาลาว่าการกรุงเทพฯ เป็นต้น   ด้วยความที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองจึงมีผู้คนพลุกพล่านผ่านไปผ่านมา  ซึ่งก็จะเห็นได้จากการจราจรบริเวณนี้ที่ค่อนข้างติดขัดเป็นส่วนใหญ่   ในปัจจุบันศาลาเฉลิมกรุงได้ใช้เป็นสถานที่ในการจัดแสดงโขน  อันเป็นสุดยอดแห่งศิลปะการแสดงชั้นสูง  โดยมูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง  ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้จัดทำโครงการ  โขน ศาลาเฉลิมกรุง”  ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าว  และเพื่อร่วมทำนุบำรุงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย  ศาลาเฉลิมกรุงจึงเป็นโรงมหรสพหลวงที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานกว่ากึ่งศตวรรษ  เป็นเสมือนสถาบันสัญลักษณ์แห่งการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ  


ศาลาเฉลิมกรุงเปิดทำการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ  มีเวลาทำการตั้งแต่  10.00 .-18.00. โดยมีวันที่เปิดให้ชมการแสดงโขน   ทุกวันพฤหัสและศุกร์  รอบ 19.30 .  ซึ่งบัตรมีราคา 1,200,  1,000, และ  800 บาท สำหรับนักท่องเที่ยว  แต่สำหรับนักศึกษาจะจำหน่ายบัตรในราคาเพียง 200 บาท  ในวันที่ไม่มีการแสดงก็จะเปิดไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาซื้อบัตรชมการแสดงโขน   ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มหรือกลุ่มทัวร์มาลง  บรรยากาศภายในเมื่อเข้าไปถึงก็จะพบกับโถงทางเข้า มีส่วนสำหรับนั่งพักคอยเป็นโซฟาที่นั่งสีแดงอยู่ตรงกลางโถง  ซึ่งสามารถมองเห็นบันไดทางเดินขึ้นไปยังชั้น2  ของโรงละครได้  ในชั้นล่างโดยรอบก็จะมีที่สำหรับขายบัตรการแสดง  และมีร้าน S&P อยู่เพียงร้านเดียว  บริเวณโถงนั้นจะมีรูปภาพประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ของศาลาเฉลิมกรุง อีกทั้งผู้ก่อตั้งคือ ม.. เฉลิมชัย กฤากร  ที่กำลังทรงตรวจทานขั้นตอนการก่อสร้างของศาลาอยู่เรียนรายให้ได้ศึกษาและรับชมได้ตลอดเวลา 


 เมื่อเดินขึ้นไปยังชั้น2 ของโรงมหรสพ  ทางด้านซ้ายมือจะพบกับส่วนของห้องที่ใช้สำหรับรับรองพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงมาเยี่ยมและรับชมการแสดง  เรียกกันว่า  ห้องเมฆลา  ข้างๆติดกันจะเป็นส่วนของห้องเรียนลีลาส  ไว้สำหรับสอนลีลาสให้กับบุคคลทุกวัยทุกแบบที่สนใจ  บ้างก็เป็นดาราที่มาเรียน  โดยอาจารย์สอนบุญเลิศ  เรียกว่า ห้องบุญเลิศลีลาส  และทางด้านขวาจึงค่อยเป็นทางเข้าชั้น 2ของที่นั่งในชั้นบนนี้

ในวันที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปศึกษาและเยี่ยมชมนั้นคือในวันที่ไม่มีการแสดงโขน  ภายในจะมี รปภ. คอยดูแลสถานที่ตลอดเวลาซึ่งต้องขอขอบคุณพี่ รปภ.ที่อนุญาตให้สามารถเดินสำรวจบรรยากาศและศึกษาสถาปัตยกรรมภายในศาลาเฉลิมกรุงนี้และขอบคุณสถานที่ ศาลาเฉลิมกรุง ที่ให้ข้าพระเจ้าได้ศึกษาเรียรู้




ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร


ตั้งอยู่ในเขตพระนคร  ตรงข้ามวัดสุทัศน์เทพวราราม  ด้านหน้าจะอยู่ติดกับเสาชิงช้า   ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร  สร้างขึ้นในปี  พ.. 2498  ออกแบบโดยหม่อมเจ้า สมัยเฉลิม กฤดากร   ในอดีตนั้นเรียกว่าศาลาเทศบาลนครกรุงเทพ  เดิมทีสถาปนิกได้ออกแบบให้อาคารหลังนี้มีหอคอยสูง  แต่เมื่อทำการก่อสร้างจริงนั้นได้ตัดยอดที่ว่านี้ออกไป  จึงเกิดเป็นอาคารหลังในปัจจุบัน


ลักษณะผังอาคาร  เป็นสี่เหลี่ยมมีคอร์ด  ตรงกลางขนาดใหญ่  การวางผังเน้นเรื่องความสมมาตรเป็นสำคัญ  ทางเข้าหลักของอาคารเป็นระเบียงยาวที่มีเสาขนาดสูงเรียงรายต่อเนื่องกันไป

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม  เป็นตึกขนาดใหญ่  โดยภาพรวมเป็นอาคารสมัยใหม่ของตะวันตกที่เน้นความเรียบง่าย  แต่ในส่วนรายละเอียดเล็กๆน้อยๆกลับมีการสอดแทรกประติมากรรมแบบไทยลงไปในชิ้นงานด้วยและเน้นการซ้ำกันในผังรูปด้านของอาคาร
อาคารหลังนี้ถูกออกแบบให้ผังมีลักษณะเป็นแบบคลาสสิค  เน้นแกนสมมาตร  แต่รูปร่างลักษณะอาคารเป็นแบบไทยประยุกต์  โดยใช้งานประดับตกแต่งที่เป็นประติมากรรมแบบไทยประยุกต์เป็นตัวดำเนินเรื่องราว
  












แหล่งข้อมูลอ้างอิง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น